รายงานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีความเห็นว่าในปี 2565 บริษัทฯ มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการกำกับดูแลความเสี่ยงสำคัญของกลุ่มบริษัท และมีความเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ และกลุ่มบริษัท

นายนพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร

ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จํากัด (มหาชน) ได้รับการแต่งตั้งจาก คณะกรรมการบริษัท จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วยกรรมการอิสระ 2 ท่าน และกรรมการที่ผู้เป็นบริหาร 1 ท่าน โดยในระหว่างปี 2565 มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงรวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง รายนามของกรรมการบริหารความเสี่ยงและจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุมมีดังนี้

    จำนวนครั้งเข้าร่วมประชุม
นายนพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) 2/2
รศ. ดร.กัญญารัตน์ สานโอฬาร กรรมการบริหารความเสี่ยง (กรรมการอิสระ) 2/2
ดร.วิจิตร เตชะเกษม กรรมการบริหารความเสี่ยง (กรรมการอิสระ) 2/2

บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จํากัด (มหาชน) ได้ให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยเฉพาะการจัดการความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจของบริษัทฯ โดยลดโอกาสความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นและให้ได้มาซึ่งโอกาสทางธุรกิจ อันจะนําไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย

ในปี 2566 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท และกฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีหน้าที่กําหนดและทบทวนนโยบาย เป้าหมายและกรอบการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กรให้มีความเหมาะสมกับการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งติดตามประเมินความเสี่ยงและผลการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งในระดับหน่วยงานและองค์กร โดยมีการประชุมจำนวน 2 ครั้ง ซึ่งสรุปสาระสำคัญของงานดังนี้

  1. พิจารณาความเสี่ยงเชิงธุรกิจจาก Business Model และความเสี่ยงธุรกิจจากมุมมองการบริหาร Human Resource ซึ่งบริษัทฯ ต้องเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ต้องมีความคิดก้าวหน้า ทันสมัย และพร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยบริษัทฯ วางแผนพัฒนาบุคลากรด้วยเทคโนโลยีมาโดยตลอด
  2. พิจารณามุมมองความเสี่ยงการร่วมลงทุนในบริษัทร่วม (บริษัท พาวเวอร์ อโกรเทค (ประเทศไทย) ที่เกี่ยวข้องในด้านภาพรวมอุตสาหกรรมโดรนเพื่อการเกษตร คู่แข่ง แนวโน้มในอนาคต โครงสร้างรายได้ในอุตสาหกรรม การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ของบริษัทร่วม รวมถึงแผนการสร้างรายได้ และกลยุทธ์การขับเคลื่อนของบริษัทร่วม ซึ่งครอบคลุมในด้านต่างๆ
  3. ทบทวนความเหมาะสมและเพียงพอของนโยบาย กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่านโยบาย กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจของบริษัทฯ และสามารถกำกับดูแลระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  4. พิจารณาสรุปประเด็นความเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อความยั่งยืนขององค์กรและแนวทางดำเนินการขั้นต่อไป เพื่อจัดลำดับความสำคัญ กำหนดแผนบริหารจัดการความเสี่ยง และจัดทำแนวทางควบคุมความเสี่ยง ดังกล่าวนั้นอย่างเหมาะสม เพื่อบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่บริษัทฯ ยอมรับได้หรือลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงขึ้นในอนาคต
  5. ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้แนวทางในการปฏิบัติหน้าที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
  6. จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง แบบรายคณะและรายบุคคลประจำปี 2566 ซึ่งผลการประเมินโดยรวมอยู่ระดับ “ดีมาก” และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อนำมาพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเปิดเผยผลการประเมินในแบบ 56-1 One Report / รายงานประจำปี

โดยสรุป คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีความเห็นว่าในปี 2566 บริษัทฯ มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการกำกับดูแลความเสี่ยงสำคัญของกลุ่มบริษัท และมีความเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ และกลุ่มบริษัท โดยฝ่ายงานหลักของบริษัทฯ และบริษัทย่อยแต่ละแห่งมีการบริหารความเสี่ยงของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ช่วยสนับสนุนให้การบริหารจัดการองค์กรและการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และกลุ่มบริษัทดำเนินการได้ตามแผนงานที่วางไว้